การประชุมคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี อนุมัติแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อเตรียมความพร้อมระยะยาว จำนวน 50 ล.บาท


วันที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่ทำเนียบรัฐบาล ในการประชุมคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทั้งนี้ได้มี วาระการพิจารณาที่สำคัญคือ แนวทางช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของประเทศ ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นมาได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนอย่างมาก ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา สสส.ได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน คือ การขยายเวลาและผ่อนปรนการจัดกิจกรรมและการใช้จ่ายเงินในโครงการที่ได้รับผล กระทบ ร่วมฟื้นฟูและให้กำลังใจโดยรวบรวมเงินบริจาคและการรับสมัครในงานวิ่งยูเอ็น เดย์ จำนวน 1.6 ล้านบาท ผ่านมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภา) การสนับสนุนน้ำดื่มในพื้นที่ประสบภัย ระดมอาสาสมัครภาคประชาชนเข้าให้การช่วยเหลือ พร้อมกับจัดทำคู่มือป้องกันและแนะนำการดูแลตนเองจากภัยพิบัติน้ำท่วมตาม พื้นที่ประสบภัย

ทพ.กฤษดา กล่าวว่า สถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วม เป็นผลสืบเนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติของโลกที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้น ที่ประชุมจึงได้อนุมัติแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อเตรียมความพร้อมในระยะยาว จำนวน 50 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 3 มาตรการที่สำคัญคือ


1. มาตรการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม โดยแผนเปิดรับทั่วไปได้เปิดรับโครงการอาสา สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานอาสาสมัครบำเพ็ญประโยชน์เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู ชุมชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากอุทกภัย และการสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อพัฒนางานฟื้นฟูภัยพิบัติโดยให้ชุมชน ที่ประสบภัยเป็นแกนหลักในพื้นที่ต่างๆ ร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเตรียมการป้องกันภัยพิบัติที่จะเกิดในอนาคตทั้งในระดับจังหวัด และในระดับชุมชน
ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า
2. มาตรการสนับสนุนต่อเนื่อง คือ การสนับสนุนจัดตั้งเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคประชาชน มีกระบวนการจัดการความรู้ และจัดการเครือข่ายเพื่อพัฒนาโครงสร้างอาสาสมัครจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน อย่างเป็นระบบ เพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทยและในโลก รวมถึงการประมวลและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการพัฒนาระบบจัดการภัยพิบัติ ของภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ
3. มาตรการสนับสนุนการพัฒนาระบบและองค์ความรู้ โดยสนับสนุนการพัฒนาระบบสารสนเทศรองรับภัยพิบัติ ที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลจากแหล่งต่างๆให้มีประสิทธิภาพขึ้น รวมถึงการศึกษาวิจัยเพื่อถอดบทเรียนการเตรียมความพร้อม และการฟื้นฟูจากประสบการณ์ในปี 2553

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=480779

เห็นระดับนโยบายขยับแรงๆไปในทิศทางเดียวกันแบบนี้แล้ว ระดับปฎิบัติการสู้ตายเลยครับ :)

--
Poramate Minsiri
Managing Director - Bundit Center Co.,Ltd.
http://www.google.com/profiles/poramateminsiri#about

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น